วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เครื่องคอมพิวเตอร์สั่งประกอบ สามารถเพิ่ม-ลดอุปกรณ์ได้ตามต้องการ ใน 1 ชุดประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Intel Core i3 โปรเซสเซอร์ เป็นจุดเริ่มต้นที่สมบูรณ์แบบสำหรับประสบการณ์การใช้งานพีซีที่รวดเร็วและตอบสนองได้ฉับไว โดยที่โปรเซสเซอร์นี้มาพร้อมกับ Intel Graphics Media Accelerator HD, เอนจิ้นวิดีโอขั้นสูงสามารถเล่นวิดีโอ HD ได้ราบรื่น และมีความสามารถด้าน 3D ขั้นสูงอีกด้วย เหมาะสำหรับทุกการใช้งานคอมพิวเตอร์ประจำวัน 

ความซื่อสัตย์

"...การที่ประกอบกิจใดๆ ให้เจริญเป็น ผลดีนั้น ย่อมต้องอาศัยความอุตสาหะพากเพียร ความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นรากฐานสำคัญ และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ให้เกิด แก่ส่วนรวมตามโอกาสอีกด้วย..."

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น



คอมพิวเตอร์



Acer ได้ทำการเปิดตัวเน็ตบุ๊ครุ่นล่าสุดหนึ่งในตระกูล Aspire One ที่กำลังเป็นที่นิยม ซึ่งได้มีการปรับปรุงรูปโฉมใหม่ โดยมีการนำเอาชิพประมวลผล N450 Atom รุ่นใหม่ล่าสุดเข้ามาปรับปรุงใช้
โดย Acer Aspire One รุ่นล่าสุดนี้ มีชื่อว่า Aspire One AO532h ที่ได้ชิพประมวลผลที่พัฒนาขึ้นมาล่าสุดอย่าง N450 เข้ามาปรับปรุงใช้งาน โดยออกแบบให้มีประสิทธิภาพการใช้งานที่ดีกว่าเดิม อีกทั้งยังยืดเวลาการใช้งานของแบตเตอรี่ให้นานขึ้นกว่าแต่ก่อนอีกด้วย โดยตัวแทนจาก Acer กล่าวว่า ด้วยวิวัฒนาการล่าสุดนี้ จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานเน็ตบุ๊คได้ยาวนานถึง 8 ชั่วโมง ด้วยแบตเตอรี่ Li-ion แบบมาตรฐานชนิด 6-cell และยาวนานถึง 10 ชั่วโมง ด้วยแบตเตอรี่แบบ high-density ชนิด 6-cell ซึ่งสำหรับชิพ N450 นี้ ได้มีการนำเอาชิพกราฟฟิกเข้ามารวมอยู่ในระบบประมวลผลกลางหรือซีพียูด้วย ซึ่งจะทำให้เน็ตบุ๊คโฉมใหม่นี้ มีขนาดเล็กและบางกว่าเดิม โดยจะมีความหนาแค่เพียงไม่ถึง 1 นิ้วเท่านั้น และมีน้ำหนักเบาเพียง 2.5 ปอนด์ โดยจะมีหน้าจอแสดงผลขนาด 10.1 นิ้ว แรม DDR2 ขนาด 1 กิ๊กกะไบท์ ฮาร์ดดิสก์ขนาด 160 กิ๊กกะไบท์ รองรับการเชื่อมต่อ 10/100 Ethernet port, 802.11b/g/Draft-N Wi-Fi, media card reader และมีกล้อง Webcam ในตัว โดยจะมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows 7 Starter Edition ซึ่งจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 299ดอลล่าร์สหรัฐฯ

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

                                                    หลักการพื้นฐานของคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์คืออะไร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ง่ายแลtซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษาได้ เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป
นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่าง ๆ อีกมากอาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่อง และสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่าง ๆ ได้
ตัวอย่างเช่น เมื่อนักเรียนใช้เมาส์ วาดรูปคอมพิวเตอร์จะรับรู้ตำแหน่งของเมาส์ในแต่ละขณะแล้วทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เกิดภาพตามที่นักเรียนวาด และทำการควบคุมการทำงานของจอภาพเพื่อให้ภาพไปปรากฏบนจอ เราบอกว่าคอมพิวเตอร์ทำการคำนวณทางคณิตศาสตร์แต่คณิตศาสตร์ของคอมพิวเตอร์นั้นต่างกับคณิตศาสตร์ที่เราใช้คิดเลขในชีวิตประจำวัน คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเราเป็นระบบเลขฐานสิบ โดยมีตัวเลขให้ใช้ 10 ตัว คือ 0,1,2,3,4,5,6,7,8,และ 9 แต่คณิตศาสตร์ของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นระบบเลขฐานสอง ซึ่งมีตัวเลขให้ใช้เพียงสองตัวเท่านั้น คือ 0 และ 1 นักเรียนคงแปลกใจว่า คอมพิวเตอร์จะสามารถคิดเลขได้อย่างไร ในเมื่อมีเพียงตัวเลข 0 และ 1 เท่านั้น เราจึงต้องมาทำความเข้าใจกับวิธีการนับเลขเสียก่อน

การนับเลขในระบบเลขฐานสิบ สมมติเราเริ่มนับเลขจากศูนย์และนับเพิ่มไปทีละหนึ่งเป็นหนึ่ง สอง สาม ฯลฯ ถ้าเราใช้เลขหลักเดียว เราจะนับได้ไม่เกิน เก้า ซึ่งเขียนแทนด้วย “9” ถ้านับต่อจาก (หนึ่ง ศูนย์) ให้สังเกตตัวเลขหลักทางขวามือ ซึ่งเราเรียกว่า หลักหน่วย นั้น พอนับถึง 9 ก็วนกลับมาเป็น 0 เหมือนตอนตั้งต้น ฉะนั้นการนับเลขในแต่ละหลัก จึงเป็นการนับวนไปเรื่อย ๆ จาก 0 ถึง 9 แล้วมาเริ่ม 0 ใหม่ ดังนี้



การนับเลขฐานสิบมากกว่าหนึ่งหลักนั้น เราสามารถจะทำความเข้าใจได้ง่าย โดยพิจารณาจากเครื่องนับจำนวนแบบให้มือกด ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องนับจำนวนแบบนี้ คือ วงล้อ ที่มีตัวเลข 0-9 ซึ่งมีจำนวนเท่ากับจำนวนหลักทุกครั้งที่กดเพื่อนับ วงล้อทางขวาสุด (หลักหน่วย) จะถูกกลไกผลักให้เลื่อนไป 1 ตำแหน่ง ตัวเลขที่โผล่ให้เห็นทางด้านต่างจึงเพิ่มขึ้น 1 และเมื่อใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนตัวเลขจาก 9 เป็น 0 ของหลักใด กลไลจะผลักวงล้อของหลักถัดไปทางซ้ายให้เพิ่มขึ้น 1 เป็นการทดเลขข้ามหลักนั่นเอง
การนับเลขในระบบฐานสอง ถึงแม้ว่าในชีวิตประจำวันเราใช้เลขฐานสิบซึ่งสันนิษฐานกันว่าเกิดจากการที่คนเรามีสิบนิ้วและมนุษย์เริ่มเรียนรู้การนับเลขจากนับนิ้วมือ แต่ในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ระบบเลขฐานสิบเป็นระบบที่ยุ่งยาก ระบบที่ง่ายที่สุดคือระบบเลขฐานสอง เพราะวงจรไฟฟ้ามีสองสถานะเท่านั้น คือ วงจรเปิด (มีกระแสไหล) กับวงจรเปิด (ไม่มีกระแลไหล) เราอาจแทนสถานะทั้งสองด้วยตัวเลข 2 ตัว คือ 0 กับ 1 ระบบนี้เราเรียกว่า ระบบเลขฐานสอง เพราะมีตัวเลข 2 ตัว (เทียบกับระบบฐานสิบ ซึ่งมีตัวเลข 0-9 รวม 10 ตัว)
การนับเลขในระบบเลขฐานสองในแต่ละหลักจึงเป็นการนับ 0-1 แล้ววนกลับมาเริ่มต้นใหม่ที่ 0 ดังภาพแสดงดังนี้


ถ้าเทียบกับการนับเลขฐานสิบแล้ว จะพบว่าการนับเลขฐานสอง ต้องใช้จำนวนหลักมากกว่า เพื่อที่จะนับในจำนวนที่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะเลขฐานสองหลักเดียวนับได้ตั้งแต่ 0 ถึง 1 เท่านั้น ถ้าใช้สองหลักจะนับจำนวนสูงสุดได้เท่ากับ 3

    การนับเลขในระบบเลขฐานสอง



จำนวนหลักที่ใช้กับจำนวนสูงสุดที่นับได้สำหรับกรณีเลขฐานสิบเทียบกับเลขฐานสอง



แม้ว่าระบบเลขฐานสองจะมีข้อเสียเปรียบ คือ ต้องใช้จำนวนหลักมาก แต่ความง่ายในการสร้างวงจร อิเล็กทรอนิกส์มาทำหน้าที่นับเลขฐานสองนั้น เป็นข้อได้เปรียบอย่างใหญ่หลวงจึงทำให้ระบบเลขฐานสองเป็นระบบที่ถูกนำมาใช้ในการทำงานของคอมพิวเตอร์



การเขียนจำนวนเลขในระบบฐานสอง
เทียบกับระบบฐานสิบ (ในช่วง 1- 15)
เพื่อให้นักเรียนได้เกิดความคุ้นเคยกับระบบเลขฐานสองมากขึ้น



ระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิตอล ความสัมพันธ์ระหว่างระบบเลขฐานสองกับระบบดิจิทัล ระบบดิจิทัลที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ เป็นระบบที่ทำงานด้วยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ ซึ่งต่างกับระบบแอนาล็อกดั้งเดิม ที่ทำงานโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงของแรงดันไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง



การเปรียบเทียบระหว่างรูปคลื่นแรงดันไฟฟ้า ของระบบดิจิทัลกับระบบแอนาล็อก


เนื่องจากระบบดิจิตอลทำงานโดยอาศัยแรงดันไฟฟ้าสองระดับ เราจึงสามารถใช้ระบบเลขฐานสอง (เลข 0 กับ เลข 1) แทนแรงดันไฟฟ้าสองระดับนั้น ดังนั้นเมื่อเราสร้างคอมพิวเตอร์ด้วยวงจรอิเล็อทรอนิกส์ระบบดิจิตอลเราจึงอาจกล่าวได้ว่าคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยระบบเลขฐานสอง นั่นคือคอมพิวเตอร์จะใช้เพียงเลข 0 กับเลข 1 เท่านั้น แต่เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะต้องคำนวณเลขที่มีค่ามาก หรือต้องจัดการกับข้อมูลจำนวนมาก เลขฐานสองที่ใช้จึงต้องมีจำนวนหลักมาก จำนวนหลักของเลขฐานสองนี่เองที่เราเรียกว่า บิต (bit) เช่น เลขฐานสองที่ใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรต่าง ๆ บนแผงแป้นอักขระของคอมพิวเตอร์นั้น เป็นเลขฐานสองขนาด 8 บิต คือ มี 8 หลัก เช่น อักษร “A” แทนด้วย 0100 0001 อักษร “Z” แทนด้วย 0101 1010 เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์
สามารถจำแนกชนิดคอมพิวเตอร์ตามสภาพการทำงานของระบบเทคโนโลยีที่ประกอบอยู่และสภาพการใช้งานได้ดังนี้
o ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
o เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
o มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
o สถานีงานวิศวกรรม (Engineering workstation)

การพัฒนาไมโครชิปที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโพรเซสเซอร์มีการกระทำอย่างตอ่เนื่องทำให้มีคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเกิดขึ้นเสอม จึงเป็นการยากที่จะจำแนกชนิดของคอมพิวเตอร์ออกมาอย่างขัดเจน เพราะเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอาจมีประสิทธิภาพสูงว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

    ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super commuter) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าคอมพิวเตอร์แบบอื่น ดังนั้นจึงมีผู้เรียกชื่อหนึ่งว่า คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computer) คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ สามารถคำนวณเลขที่มีจุดทศนิยมด้วยความเร็วสูงมาก ขนาดหลายร้อยล้านจำนวนต่อวินาที งานที่ให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำแค่ 1 วินาที ถ้าหากเอามาให้คนอย่างเราคิด อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าร้อยปี ด้วยเหตุนี้ จึงเหมาะสมที่จะใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เมื่อต้องมีการคำนวณมาก ๆ อย่างเช่นงานวิเคราะห์ภาพถ่าย จากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา หรือดาวเทียมสำรวจทรัพยากร งานวิเคราะห์พยากรณ์ งานทำแบบจำลองโมเลกุล ของสารเคมี งานวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร ที่ซับซ้อน คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ มีราคาค่อนข้างแพง ปัจจุบันประเทศไทย มีเครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray YMP ในงานวิจัยอยู่ที่ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สมรรถภาพสูง (HPCC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ผู้ใช้เป็นนักวิจัยด้านวิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
   
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือ ปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับว่า เมนเฟรม นั่นเอง เหมาะกับการใช้งาน ทั้งในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก ๆ เชื่น งานธนาคาร ซึ่งต้องสอบบัญชีลูกค้าหลายคน งานของสำนักงานทะเบียนราษฏร์ ที่เก็บรายชื่อประชาชนประมาณ 60 ล้านคน พร้อมรายละเอียดต่าง ๆ งานจัดการบันทึกการส่งเงิน ของผู้ประกันตนหลายล้านคน ของสำนักประกันสังคม กระทรวงแรงงาน คอมพิวเตอร์เมนเฟรม ที่มีชื่อเสียงมาก คือ เครื่องของบริษัท IBM ในปัจจุบัน ความนิยมใช้เครื่องเมนเฟรม ในหน่วยงานต่าง ๆ ได้ลดน้อยลงมากเพราะราคาเครื่องค่อนข้างแพง การใช้งานค่อนข้างยาก และมีผู้รู้ด้านนี้ค่อนข้างน้อย

    มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะน้อยกว่าเครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์รอบข้างได้น้อยกว่า อย่งไรก็ตามจุดเด่นสำคัญของเครื่องมินิคิมพิวเตอร์ ก็คือ ราคามย่อมเยากว่าเมนเฟริม การใช้งานก็ไม่ต้องใช้ บุคคลากรมากนัก นอกจากนั้น ยังมีผุ้ที่รู้วิธี่ใช้งานมากกว่าด้วย เครื่องประเภทนี้ มีใช้ตามสถาบันการศึกษา อุดมศึกษาหลายแห่ง มินิคอมพิวเตอร์ เหมาะกับงานหลากหลายประเภท ใช้ได้ทั้งในงานวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม เครื่องที่มีใช้ตามหน่วยงานราชการระดับกรมส่วนใหญ่มักจะเป็นเครื่องประเภทนี้

    สถานีงานวิศวกรรม (Engineering Workstation) ผู้ใช้สถานีงานวิศวกรรม ส่วนใหญ่เป็นวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ สถาปนิก และนักออกแบบ สถานีงานวิศวกรรมมีจุดเด่นในเรื่องกราฟิก การสร้างรูปและการทำภาพเคลื่อนไหว การเชื่อมโดยงสถานีงานวิศวกรรมกันเป็นเครือข่าย ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์หลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำเร็จ สำหรับใช้กับสถานีงานวิศวกรรมขึ้นไป เช่น โปรแกรมการจัดทำต้นฉบับหนังสือ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์งานออกแบบทางด้านวิศวกรรมและการควบคุมเครื่องจักร

    ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้ทำงานคนเดียว จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างแพร่หลาย จัดว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ทั้งระบบใช้งานครั้งละคนเดียวหรือใช้งานในลักษณะเครือข่าย แข่งได้หลายลักษณะตามขนาดเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) หรือแบ่งตามผู้ผลิต ได้แก่ เครื่องกลุ่ม IBM,IBM Compatible และแมคอินทอช (Macintosh) เป็นต้น คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ ที่เป็นตัวการผลักดันให้เกิด การเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในโลกคอมพิวเตอร์ คือ ทำให้เกิดความสนใจในเรื่องคอมพิวเตอร์แพร่หลายไปสู่คนทุกอาชีพ และทุกวัย

วงตรรก สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของคอมพิวเตอร์คือ วงจรตรรก ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จำนวนมหาศาลแต่ละวงจรทำงานโดยมีสถานะเพียงสองสถานะ ระบบเช่นนี้ เราเรียกว่าระบบดิจิตอล หน่วยที่เล็กที่สุดของวงจรตรรกที่ใช้ในคอมพิวเตอร์คือ เกต (Gate) วงจรเกตมีหลายแบบและเมื่อนำเกตแบบต่าง ๆ มาต่อกัน ยังทำให้เกิดวงจรที่สามารถทำหน้าที่อื่นได้อีกหลายแบบเช่น วงจรนับ (Counter) และวงจรความจำ (Memory)

    วงจรตรรกประเภทหลัก ๆ ที่ใช้ในงานคอมพิวเตอร์มีดังนี้
1. วงจรเกตหรือลอจิกเกต (Logic gate) เป็นวงจรที่ทำหน้าที่ตัดสินเชิงเหตุ และผล (เชิงตรรกะ) ทั้งนี้เป็นไปตามกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์แบบหนึ่งที่เรียกว่าพีชคณิตแบบบูลลีน (Boolean Algebra)
ตัวอย่างการตัดสินเชิงตรรกะ คุณแม่ตกลงกับลูกว่า พรุ่งนี้ถ้าอากาศดีและนักเรียนทำการบ้านเสร็จคุณแม่จะพาไปเที่ยว ตารางแสดงความสัมพันธ์ดังนี้


จากตัวอย่างจะเห็นว่าผลดี การไปเที่ยวหรือไม่ไปเที่ยวขึ้นอยู่กับเหตุ 2 ประการ คืออากาศดีหรือไม่ดี และการบ้านเสร็จหรือไม่เสร็จ จงสังเกตว่าทั้งเหตุและผลแต่ละอย่างมสองสถานะเราจึงอาจใช้เลขฐานสองแทนสถานะของแต่ละอย่างได้ โดยกำหนดว่าถ้าเงื่อนไข จริงเราจะแทนด้วยเลข 1 และถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จเราจะแทนด้วยเลข 0 แสดงความสัมพันธ์ดังนี้


ความสัมพันธ์นี้เป็นกรณีที่ผลลัพธ์จะเป็นจริงต่อเมื่อ เงื่อนไขทั้งสองเป็นจริงด้วยกันเราเรียกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบ “และ (AND” ซึ่งเขียนสมการได้ว่า

W AND H=G หรือเขียนว่า W O H = G

2. วงจรนับ (Counter) เป็นอีกวงจรหนึ่งที่มีความสำคัญมากต่อการทำงานของคอมพิวเตอร์ด้วยเหตุผลอย่างน้อยสองประการ
ประการแรก คอมพิวเตอร์ทำการนับเพื่อกำหนดตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ เช่น ลำดับขั้นตอนการทำงานตามโปรแกรม ตำแหน่งของหน่วยความจำ
ประการที่สอง การนับเป็นกระบวนการพื้นฐานอย่างหนึ่งของการคำนวณ ดังนั้น วงจรจึงนับเป็นวงจรดิจิตอลที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์

3. วงจรความจำ (Memory) การมีความจำนับว่าเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ใช้ความจำทั้งสำหรับเก็บขั้นตอนการทำงาน (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม) เก็บค่าต่าง ๆของข้อมูล ในระหว่างทำกระบวนการและเก็บค่าผลลัพธ์เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์มีทั้งที่เป็นส่วนประกอบภายในของหน่วยประมวลผลกลาง (ซี พี ยู) และที่เป็นหน่วยความจำต่างหาก

การประมวลผลของคอมพิวเตอร์ หลักพื้นฐานในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เรามักจะนึกว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่ฉลาดมาก แต่ความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้นเลย คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ในยุคปัจจุบันมีความเก่ง ตรงที่สามารถทำงานได้เร็วมาก ๆ และมีความจำดีมากเท่านั้นเอง แต่ผู้ที่ออกแบบสร้างคอมพิวเตอร์ (และโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์) นั้นมีความฉลาดหลักแหลมที่สามารถแตกปัญหายาก ๆ 1 ปัญหา ออกเป็นปัญหาย่อยง่าย ๆ จำนวนหลายร้อยปัญหา แล้ววางขั้นตอนให้คอมพิวเตอร์จัดการกับปัญหาย่อยเหล่านั้นตามลำดับขั้นตอน

    เพื่อให้เข้าใจหลักการนี้ ขอให้นักเรียนพิจารณาโจทย์ตัวอย่างดังนี้
โจทย์ 3x5=?
วิธีทำ 3x5 หมายความว่า นำ 3 มาบวกกัน 5 ครั้ง
ดังนั้นเราจึงแปลงโจทย์เป็น 3+3+3+3+3 = ?
แต่ถ้าเราจะนำโจทย์ไปให้เด็กที่บวกเลขไม่เป็น แต่นับเลขเป็นเราต้องแปลงให้ง่ายงไปอีกดังนี้
การนับครั้งที่ 1 /// นับ 1 2 3
การนับครั้งที่ 2 /// นับ (ต่อจาก 3) 4 5 6
การนับครั้งที่ 3 /// นับ (ต่อจาก 6) 7 8 9
การนับครั้งที่ 4 /// นับ (ต่อจาก 9) 10 11 12
การนับครั้งที่ 5 /// นับ (ต่อจาก 12) 13 14 15 คำตอบคือ 15

คอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนเด็กที่คิดเลขไม่เป็นนับเลขเป็นอย่างเดียว ถ้าเราจะให้คิดเลข 3x5 = ? เราจึงต้องให้คิดทางอ้อม โดยเขียนโปรแกรมสั่งให้นับครั้งละ 3 ทำการนับทั้งหมด 5 ครั้ง ตัวเลขสุดท้ายที่นับได้คือ คำตอบ แต่ข้อได้เปรียบของคอมพิวเตอร์มีสองประการคือ นับได้เร็วมากกับความจำดีมาก ซึ่งเราจะสามารถใช้ข้อได้เปรียบนี้ พัฒนาโปรแกรมต่อไปอีก นักเรียนจะได้เรียนรู้วิธีการเช่นนี้ในชั้นสูงขึ้นไป
ข้อสรุปที่เราได้ตอนนี้คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์นั้นมากจาก
1. คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมาก
2. คอมพิวเตอร์มีความจำดีมาก
3. ความสามารถของโปรแกรมในการแตกปัญหาที่ยากออกเป็นปัญหาย่อยที่ง่าย (แต่มีจำนวนปัญหามาก)

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้มีประโยชน์มาก และมีการนำไปใช้อย่างกว้างขวาง เราอาจจัดประเภทการใช้งานของคอมพิวเตอร์เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ
2. การประมวลผลข้อมูล
3. การควบคุมอัตโนมัติ

การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ เช่น การจัดเก็บข้อมูลในระบบทะเบียนราษฏร์การเก็บสารสนเทศตามเว็บไซต์เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
การประมวลผลข้อมูล เช่น การพยากรณ์อากาศ ระบบเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
การควบคุมอัติโนมัติ เช่นการควบคุมเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม การควบคุมเครื่องบินโดยสาร

ในบางกรณีระบบคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งอาจทำหน้าที่หลายอย่างต่างประเภทกันในเวลาเดียวกันก็ได้และเนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วมาก การทำงานหลายอย่างสลับไปมา จะมีผลปรากฎเสมือนหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ทำงานเหล่านั้นในเวลาเดียวกัน วิธีนี้เรียกว่า การใช้คอมพิวเตอร์ทำงานแบบหลายภารกิจ หรือ มัลติทาสกิง (Multitasking)